ON 17


            วิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วิจัยเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมเรียนรู้ เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศษสตร์ของเด็กปฐมวัย
                  ความมุ่งหมายงานวิจัย
1. เพื่อศึกษาผลการจักการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
                           ความสำคัญของงานวิจัย
   ผลการวิจัยในครั้งนี้มีผลต่อผู้เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย
                           กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
    เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ชั้นอนุบาล 3 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียงเทศบาล 2 อำเภอเมืองเพชรบูรณ์  จังหวัดเพชรบูรณ์ 
                          ตัวแปรทีศึกษา
   1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดกิจกรรมเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ
   2. ตัวแปรตาม  คือ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาตร์  4 ทักษะ
       2.1 ทักษะการสังเกต
       2.2 ทักษะการจำแนกประเภท
       2.3 ทักษะการหามิติสัมพันธ์
       2.4 ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
                          นิยามศัพท์เฉพาะ
1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กชาย - หญิง อายุ 5-6 ปี ชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนเทศบาล 2 อำเถอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
2. การจัดกิจกรรมเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติ คือ วิธีการจัดการเรียนรู้สีจากพืช ผักและผลไม้ที่อยู่รอบตัวเด็กในชุมชน ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อให้เด็กได้แสดงความสามารถในการปฏิบัตฝึกฝนกระบวนการทางความคิด ค้นคว้า ควมารู้และแก้ปัญหามางวิทยาศาสตร์ทดลองสีจากธรรมชาติให้เด็กใช้สัมผัสที่หลากหลายโดยการปฏิบัติจริง
3. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง การแสดงความสามารถของเด็กปฐมวัย ในด้ายการสังเกต การจำแนกเปลี่ยบเทียบการลงความเห็นจากข้อมูล โดยประเมินจากแบบทดสอบพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
3.1 ทักษะการสังเกต หมายถึง ความสามารถในการบอกความแตกต่าง บอกลำดับวัสถุ จัดสิ่งของให้เป็นหมวดหมู่ โดยใช้เกณฑ์ในการจจัดแบ่ง เช่น ความเหมือน ความต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างไดอย่างหนึ่ง
3.2 ทักษะการจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการแบ่งพวก เรียงลำดับโดยมีเกณฑ์ เกณฑ์ดังกล่าวอาจใช้ ความเหมือน ความต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
3.3 ทักษะการหามิติสัมพันธ์ หมายถึง ความสามรถในการบอกความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่างๆ ของวัสถุหรือบอกตำแหน่งของวัสถุ  ได้แก่ รูปร่าง หรือรูปทรง ขนาด ระยะทาง ตำแหน่ง พื้นที่หรือสถานที่
3.4 ทักษะการลงความคิดเห็นข้อมูล หมายถึง ความสามารถในการอธฺบายหรือแสดงความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้รับอย่ามีเหตุผล ในการอธิบายหรือสรุปข้อมูล
    
                             ตัวอย่างการสอน

สอนวันอัวคาร หน่วยสีที่เกิดจากผักและผลไม้
    ชื่อกิจกรรม  ที่ที่ได้จากผักและผลไม้
    จุดประสงค์  1. เสริมทักษะพื้นฐานททางวิทยาศาสตร์
                       - การสังเกตส่วนต่างๆ ของผักและผลไม้
                       - การจำแนกประเภทแยกประเภทของผัก
                       - การลงความเห็นข้อมูล การสรุปข้อมูล
                       - การหามิติสัมพันธ์ บอกรูปร่างชนิดของผักต่างๆ
                       2. ส่งเสริมให้เด็กเล่าประสบการณ์เดิม
                       3. แสดงความรคิดเห็นเรื่องที่ต้องการเรียนรู้
                       4. เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ตรง
การดำเนินกิจกรรม
                    ขั้นนำ 
       ครูนำผักต่างๆ หลากหลายสี ใส่ตะกร้าให้เด็กๆ ดูและให้เด็กๆยิบดูได้ตามความสนใจ
                   ขั้นสอน
        1. ครูให้เด็กๆนั่งเป็นกลุ่ม 5 คน
        2. ครูตามแต่ละกลุ่มดังนี้
        - เด็กรู้จักผักที่ครูนำมาให้ดูไหม ?
        - ผักมีชื่อว่าอะไร มีลักษณะอย่างไรแล้วสีอะไร ?
       3. ครูและเด็กๆ ทดลองผักที่นำมาทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดสี และให้เด็กๆ สังเกตว่าจะเกิดอะไรขึ้น
       4. ครูและเด็กช่วยกันคิดว่าสีที่ได้จากผักสามารถไปทำอะไรได้บ้าง
       5. เมื่อเด็กปฏิบัติมาเสร็จสิ้นแล้ว ให้เด็กเก็บอุปกรณ์เข้าที่
                   ขั้นสรุป
     1. ครูให้เด็กออกมาอธิบายสีที่ได้จากผัก ให้กับเพื่อนๆ ฟัง
     2. ครูและเด็กสรุปสิ่งที่เรียน และได้สีอะไรบ้าง
                 สื่ออุปกรณ์
  แครอท / ขมิ้นชัน / ฟักทอง / ใบย่านาง / เครื่องปั่น / ครก / ภาชนะใส่ / มีด
            การประเมินผล
   1. สังเกตพฤติกรรม การลงมือทำการเรียนรู้
   2. การเข้าร่วมกิจกรรม
   3. การตอบคำถามสรุปผลการณ์ทดลองตามความเข้าใจของตนเอง

                          สรุป บทความ
เรื่อง  การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
          การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย
           บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย 

1.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัว 
2.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้าน
3.การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ในการออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ตลอดจนคิดวิธีการแก้ปัญหาต่างๆตามวัยและศักยภาพผ่านทางการเล่นทางวิทยาศาสตร์
          การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้
1.สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
2.สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม
3.ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ
4.ส่งเสริมกระบวนการคิด
5.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
6.ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
7.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ 

           การจัดกระบวนการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ควรให้เด็กได้ตระหนักถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ต่อไปนี้ 
1.เราต้องการค้นหาอะไร
2.เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อการค้นหานี้
3.เราเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้าง
4.สิ่งต่างๆเหล่านี้บอกอะไรแก่เราบ้าง 

                           
            แหล่งที่มา
เอกสารอ้างอิง  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  แนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2546 

                                       สรุปโทรทัศน์ครู

                                            การทดลองอากาศ
    สรุป
เป็นการทดลองของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สอนแบบ 5E คือ - การกระตุ้น
                         - การสำรวจ
                         - การสรุป
                         - การขยายความรู้
                         - การประเมินผล
วิธีการสอน
ขั้นนำ :   ครูใช้คำถาม ถามเด็กว่าอากาศคือ อะไร จากนั้นครูก็แนะนำอุปกรณ์ในการทดลอง 
บิ๊กเกอร์ ฝองน้ำ ก้อนหิน ชอล์กเขียนกระดาน ก้อนดิน เปลือกหอย 
ขั้นสอน : ครูเอาน้ำใส่ลงไปในบิ๊กเกอร์ จากนั้นก็ยิบฝองน้ำ แล้วถามเด็ก " ใครเคยเอาฝองน้ำย่อนลงไปในน้ำบาง ?" แล้วมันเป็นยังไง? " จากนั้นครูให้เด็กแบ่งกลุ่มแล้วทดลองเองและบันทึกในสมุดของนักเรียนแต่ละคนเอง จากนั้นครูก็ให้เด็กๆ ลองต้มน้ำ แต่ในขณะที่สอนครูจะค่อยใช้คำถาม ถามกับเด็กอยู่เสมอในการเรียนเพื่อเป็นการกระตุ้นเด็ก
ขั้นสรุป : ครูใช้ถามถาม ถามกับเด็กว่าเด็กๆ ได้อะไรบ้างมันเป็นอย่างไรบ้าง 
ความรุ้ที่เด็กได้รับ เด็กได้เรียนรู้ว่าในธรรมชาติรอบตัวของเด็กนั้นมีอากาศอยู่ไม่ว่าจะเป็น ดิน น้ำ ก็มีอากาศ อากาศอยู่ทุกที่รอบตัวของเราเอง


                    
                         

ON 16

                                                          2 December 2014

                           การเรียนการสอนในวันนี้เริ่มต้นโดยครูผู้สอนตรวจงานที่เพื่อนคนไหนยังไม่ครบและครูนัดให้เอามาส่งในวันนี้ ต่อจากนั้นครูผู้สอนก็ให้ออกมานำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู ของแต่ล่ะคนทีจับฉลากได้อะไร   เรื่องที่ดดฉันได้นั้นเป็นโทรทัศน์ครู



                             สรุป โทรทัศครู

                       รายการตะวันยิ้มตอน บ้านนักวิทยาศาสตร์
ชื่อ โรงเรียนบันนังสตาร์อินธรัตฉัตรมิตรภาพ    จังหวัดยะลา   
       กระบวนการในการจัดการเรียนรู้
- ครูสสอนให้เด็กรู้จักการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และพูดคุยเกี่ยวกับความหมาย เข้าใจของสิ่งต่างๆก่อให้เกิดผลการเรียนรู้มากมาย ครูจะกระตุ้นใด้เด็กสังเกตรวบรวมข้อมูลตัวเลขและคำอธิบายต่างๆ
- จากนั้นกระตุ้นให้เด็กถามคนอื่นเพื่อทบทวนความรู้ที่ผ่านมา ครูและผู้ดูแลเด็กจะให้กำลังใจสนับสนุนให้เด็กแสดงความคิดเห็นของตนเองแรกเปลี่ยน หรืออภิปรายความคิดเห็นของตนกับผู้อื่น
                                         สอนเรื่อง "ฟองน้ำ"
   สอนโดยวิธีการทดลอง
                       ขั้นนำ    
   ครูใช้คำถามกับเด็กๆ "เด็กๆ เมื่อเช้าก่อนมาโรงเรียนเด็กๆ อาบน้ำมาไหมค่ะ"
                     ขั้นสอน      
   ครูนำกะละมัง 2 ใบใส่น้ำ กะละมังใบที่ 1 ใส่น้ำ    กะละมังใบที่ 2 ใส่น้ำผสมน้ำยาล้างจาน จากนั้นให้เด็กๆ ใช้หลอดเป่ากะละมังใบที่ 1 แล้วครูใช้คำถาม ?
  ครู    : เด็กๆ เกิดอะไรขึ้นกับน้ำคะ ? 
  เด็ก  : มันเกิดฟองน้ำขึ้นมาแต่มันอยู่ได้ไม่นาน ครับ,คะ
จากนั้นครูก็นำกะละมังใบที่ 2 มาให้เด็กเป่าโดยใช้หลอด ผลที่ออกมาคือ มีฟองของน้ำยาล้างจาน
  ครู   :  ระหว่างอาบน้ำที่บ้าน สบู่ ยาสะผม น้ำยาล้างจานเกิดฟองเหมือนกันไหม ? 
  เด็ก :  เหมือนกัน ครับ,คะ 
                      ขั้นสรุป วิทยาศาสตร์ที่ได้
 น้ำยาล้างจาน  สบู่อาบน้ำ เกิดสารแรงตึงผิวของสารต่างๆ ที่อยู่ในน้ำยาล้างจานและสบู่ ทำให้เกิดฟองน้ำขึ้น  


                    
 

จากนั้นก็ได้ทำงานกลุ่ม การออกแบบใบโบโชว์สารสัมพันธ์กับผู้ปกครองโดยแบ่งกลุ่มการทำตามกลุ่มการเขียนแผน      
                          
  การนำความรู้ไปใช้      
                          สามารถนำความรู้ในการเรียนการสอนในครั้งนนี้ไปใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ว่าการสอนรูปแบบการทดลองควรสอนอย่างไร การให้คำถามกับเด็ก การกระตุ้นความสนใจเด็กในขณะที่กำลังสอน การสอนในห้องเรียนเพื่อให้เด็กเกิดความสนุกจะต้องให้เด็กมีส่วนร่วมเป็นต้น 
                             สิ่งที่ต้องพัฒนา
          การหาข้อมูลเพิ่มเต็มในการสอน วิทยาศาสตร์ เทคนิคการสอนต่างๆ ของการสอน ฝึดทดลองด้วยตัวเอง                                                                   
                             การประเมิน                                                                           
ครู : เข้าสอนตรงเวลาให้คำแนะนำในการนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูของเพื่อนๆ                               เพื่อน : มาเรียนตรงเวลามีส่วนน้อยที่เข้าสายมีเพื่อนบางคนตั้งใจเรียนแต่ก็มีคนทีไม่ตั้งใจ                      ตนเอง : ตั้งใจเรียนมาเรียนตรงเวลามีการโต้ตอบกับครูผู้สอนการแต่งกายเรียบร้อย                               
                                                                                           


                                                                                                                                                                 
     
                        
                      


                                                                                                                                                 

ON 15

                                                         25 November 2014
          
                       การเรียนการสอนในวันนี้เริ่มจากที่ครูผู้สอนให้ออกไปนำเสนอ งานวิจัยและโทรทัศน์ครูของแต่ละคนที่จับฉลากได้ ซึ่งมีรายการนำเสนอดังนี้  
       1. การดำเนินเสียง : โทรทัศน์ครู  
เสียงเกิดจากการสั่นของมวนเนื้อวัสตุ เมื่อถูกเคาะแล้วเกิดการสะเทือนแล้วเกิดเสียง
       2. ผลการจัดกิจกรรมเรียนรู้เรื่องสีต่อธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เป็นงานวิจัย    
       3. อาหารในชีวิตประจำวัน : โทรทัศน์ครู  
ครูนำอาหารให้เด็กแต่ละดู แล้วครูก็ให้เด็กๆบอกประโยชน์ของอาหารที่แต่ละกล่มได้
       4. ไฟฟ้ากับพืช : โทรทัศน์ครู 
สอนเรื่องการเจริญเตฺิบโตของพืช ให้เด็กลงมือทดลองเอง
       5. ผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมประสบการณ์เรื่องแสงที่มีผลต่อทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย  :  งานวิจัย    แสงเป็นเรื่องราวสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก
      6. การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการทำน้ำสมุนไพร : วิจัย
           หลังจากที่นำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูเสร็จแล้วครูผู้สอนการทำ Waffle หรือ ขนมรังผึ้ง 
  

           





Waffle

        การนำความรู้ไปใช้                                                                 
                 สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ไปใช้สอนวิทยาศาสตร์ได้ คือ การทำขนมรังผึ้งหรือที่เรียกกันอีกอย่างคือ Waffle นั้น และความรู้ทางวิจัยและโทรทัศน์ครูที่เพื่อนแต่ละคนเอามานำเสนอในวันนี้
                                     สิ่งทีพัฒนา   
                 การหาข้อมูลในการทดลองวิทยาศาสตร์ให้เหมาะสมกับการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยเพื่อให้เด็กเรียนรู้และเกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์ เมื่อถึงเวลาที่ตองออกสอนจริง ๆ 
           
                      การประเมิน                                                                                             
ครู : มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี มีการเตรียมอุปกรณ์  การแต่งกายเหมาะสม                                      
เพื่อน : เพื่อนทุกคนแต่งกายเรียนร้อยเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรม                                     
ตนเอง : มาเรียนตรงเวลาแต่งกายเรียบร้อยตั้งใจเรียนและทำกิจธรรม